รากฟันเทียม (Dental Implant) เป็นทางออกของสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันเเท้ไป รากฟันเทียมเป็นทั้งการรักษาสุขภาพฟันให้เเข็งเเรง และยังเป็นทันตกรรม การทำรากฟันเทียม เป็นมาตรฐานการรักษาฟันที่หายไปที่ได้รับความนิยมเพราะรากฟันสามารถใช้งานในระยะยาว และยังมีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง คนไข้มีความสุขการรับประทานอาหารได้อย่างไม่ติดขัด มีการดูแลทำความสะอาดที่แสนง่ายเหมือนกันฟันแท้ของเรา
รากฟันเทียมทำจากอะไร
เราแบ่งส่วนประกอบของรากฟันเทียมเป็น 3 ส่วน คือ
- ราก (Fixture)มีลักษณะคล้ายสกรู ทำหน้าที่เป็นรากฟันที่เชื่อมติดกับกระดูกขากรรไกร รากฟันทำจากวัสดุไทเทเนียม (Titanium) ที่เข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อให้ความแข็งแรง ทนแรงบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แกนฟัน (Abutment)อยู่ตรงกลางระหว่างรากและครอบฟัน เปรียบเสมือนโครงสร้างแกนฟันหลัก ทำหน้าที่เป็นตัวยึดรากฟันไทเทเนียมกับครอบฟันให้มั่นคง
- ครอบฟัน (Crown)ผลิตจากเซรามิก ทำรูปร่างและสีให้เหมือนฟันธรรมชาติ
ข้อดีของการทำรากเทียม
เมื่อสูญเสียฟันแท้ไป ปัญหาที่ตามมาคือมีช่องว่างในฟันเกิดขึ้น ทำให้ฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียงล้มได้ การทำรากเทียมมีข้อดีคือ
- ป้องกันฟันล้มหรือฟันเอียงที่เกิดจากการสูญเสียฟัน
- เสริมสร้างความแข็งแรงเเละสุขอนามัยในช่องปาก
- เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนฟันธรรมชาติ
- เสริมบุคลิกภาพ คืนรอยยิ้มที่สวยงาม สร้างความมั่นใจ
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการพูด
- แก้ปัญหาที่เจอจากการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ เช่น ฟันปลอมหลวม เห็นตะขอเกี่ยว เคี้ยวอาหารติดขัด กังวลว่าฟันปลอมจะหลุดขณะเคี้ยวอาหาร/สนทนา
เตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม
- ปรึกษาทันตแพทย์คุณหมอพิจารณาว่าความเหมาะสมของคนไข้ทำรากฟันเทียม มีการทำการเอ็กซเรย์ฟัน หรือทำ CT Scan สแกนภาพ 3 มิติ ตรวจสภาพกระดูก อาจมีการทำพิมพ์ปาก และเช็คประวัติคนไข้ เพื่อนำมาวางแผนขั้นตอนการรักษาให้เหมาะสมปลอดภัยกับคนไข้
- กำหนดนัดหมายวันผ่าตัด คนไข้ควรวางแผนเตรียมพักฟื้น ดูเเลช่องปากหลังผ่าตัดให้ดี
– เตรียมอาหารอ่อนๆ และยาแก้ปวด
– หยุดพักงาน 1-2 วันแรก
– พักออกกำลังกายหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ - เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการผ่าตัดพักผ่อนให้เพียงพอ คนไข้ต้องอดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
ใครสามารถทำรากฟันเทียมได้บ้าง
ไม่ใช่ว่าคนไข้ที่สูญเสียฟันทุกคนสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากเทียมได้ มีปัจจัยความเหมาะสมทางร่างกายที่ทันตแพทย์พิจารณา คือ
- มีปริมาณกระดูกที่เพียงพอ ในการผ่าตัดรากฟันเทียม
พบว่าคนไข้ที่สูญเสียฟันมาระยะหนึ่ง อาจมีกระดูกไม่เพียงพอ ซึ่งทันตแพทย์จะตรวจสอบด้วยเครื่องสแกน CBCT แสดงภาพ 3 มิติ ช่องปากและกระดูกขากรรไกร และทำการประเมินปริมาณกระดูกได้ หากพบว่ามีกระดูกไม่เพียงพอในการปลูกรากฟันเทียม คุณหมอจะต้องเตรียมการปลูกถ่ายกระดูกก่อน เพื่อให้ร่างกายสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ให้พร้อมรับการผ่าตัดต่อไปได้ - อายุ 18 ปีขึ้นไป
การทำรากฟันเทียมจะได้ผลดีที่สุด ในวัยที่ร่างกายเติบโต กระดูกขากรรไกรพัฒนาเต็มที่เเล้ว - มีสุขภาพที่ดี
สุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการผ่าตัดรากฟันเทียม คนไข้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่จัด
หรือมมีโรคประจำตัว เช่น ความเบาหวาน โรคมะเร็งที่มีการฉายรังสีที่บริเวณใบหน้า ลูคีเมีย ไฮเปอร์ไทรอยด์ ปริทันต์อักเสบรุนแรงฟันผุ ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อน ทันตแพทย์จะประเมินสุขภาพช่องปากเเละวางแผนรักษาก่อน หรือสำหรับคนไข้ที่มีโรคประจำตัว อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวด้วย - สตรีมีครรภ์ควรเลี่ยงการรักษารากฟันเทียมเนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ทันตแพทย์แนะนำให้คลอดบุตรก่อน