วีเนียร์ (Veneers)

ในปัจจุบันมีการให้ความสนใจการรักษาทางทันตกรรมเพื่อความสวยงามมากขึ้น เช่น การฟอกสีฟัน การทำคอมโพสิทวีเนียร์ การทำพอร์ซเลนวีเนียร์ การทำครอบฟันด้วยวัสดุเซรามิก อย่างไรก็ตามการกรอเตรียมฟันเพื่อทำครอบฟัน อาจทำให้เกิดปัญหาบางอย่าง ทั้งการสูญเสียเนื้อฟันจำนวนมากและอาจส่งผลกระทบต่อประสาทฟัน โดยเป้าหมายของการทำวีเนียร์คือ หลีกเลี่ยงการสูญเสียเนื้อฟันจำนวนมาก จากการกรอเตรียมฟันเพื่อทำครอบฟัน

มีการศึกษาทางคลินิกจำนวนมากที่ยืนยันว่าการบูรณะด้วยพอร์ซเลนวีเนียร์ให้ผลทางคลินิกที่น่าพึงพอใจ คงสภาพความสวยงามได้อย่างยอดเยี่ยมและความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง

วีเนียร์ คืออะไร มีกี่แบบ อยากฟันสวย ทำแบบไหนดี
วีเนียร์ จะมีลักษณะเป็นวัสดุบางๆคล้ายเคลือบฟันธรรมชาติ มีความบางและมีสีใกล้เคียงกับฟัน โดยจะนำมาติดบริเวณผิวฟัน เพื่อเพิ่มความสวยงาม

วีเนียร์ เหมาะสำหรับใครบ้าง

  • ผู้ที่ต้องการมีฟันขาวขึ้น ฟันเดิมมีสีเข้ม เหลือง ไม่ขาว
  • ฟันมีขนาดฟันใหญ่ หรือ เล็กเกินไป หรือฟันที่มีขนาดใหญ่หรือยาวเกินไป ต้องการปรับเปลี่ยนขนาดของฟัน โดยวีเนียร์สามารถแก้ให้ขนาดของฟันมีขนาดที่เหมาะสมและเป็นดูธรรมชาติเข้ากับรูปหน้าได้
  • ฟันมีระนาบหรือแกนฟันเอียง ฟันดูเหยินหรือเอียงเล็กน้อย หรือหลุบเข้าไปข้างใน
  • ฟันห่าง วีเนียร์สามารถใช้ปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันได้

ประเภทการทำวีเนียร์
การทำวีเนียร์ (Veneer) แบ่งออกตามวัสดุที่ใช้ทำวีเนียร์เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1. คอมโพสิตวีเนียร์ (Composite veneer)
วัสดุที่ใช้จะเป็น เรซิน เป็นวัสดุสีเหมือนฟัน ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับวัสดุอุดฟันทั่วไป (composite resin) เป็นการใช้วัสดุอุดฟันอุดปิดลงบนผิวหน้าฟันโดยตรงในช่องปากเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีฟัน

ข้อดี คือ ไม่จำเป็นต้องกรอฟันมากจนเกินไป และค่าใช้จ่ายถูกกว่าการทำพอร์ซเลนวีเนียร์

แต่ก็มีข้อเสียคือ ใช้เวลาทำนาน และบริเวณขอบของวัสดุอุดหากทำได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก เหงือกอักเสบได้ รวมถึงอายุการใช้งาน ความคงทนของสี และความเรียบเงาจะน้อยกว่าวัสดุประเภทพอร์ซเลน

2. พอร์ซเลนวีเนียร์ (Porcelain veneer)

จะมีขั้นตอนและวิธีการทำดังนี้

  1. ทันตแพทย์จะพูดคุยวางแผนการรักษา
  2. กรอผิวฟันเดิมออก
  3. พิมพ์ปาก
  4. ทำการใส่ผิวฟันชั่วคราวด้วยวัสดุอุดหรือวัสดุที่ใช้ทำครอบฟันชั่วคราวระหว่างที่รอชิ้นงานส่งกลับมา
  5. ให้ผู้ป่วยเลือกสีฟันที่ต้องการ
  6. นำรอยพิมพ์เข้าสู่กระบวนการทางห้องแล็บ โดยจะใช้วัสดุประเภทพอร์ซเลน (Porcelain)
    ซึ่งมีข้อดีในเรื่องความคงทนของสี ความเงางามเหมือนฟันธรรมชาติ
  7. เมื่อได้ชิ้นงานมาแล้ว ทันตแพทย์จะนัดกลับมาใส่เข้าไปในช่องปากของคนไข้

สรุปข้อแตกต่างของวีเนียร์ทั้ง 2 ประเภท

  • เมื่อนำทั้งสองแบบมาเปรียบเทียบกัน พอร์ซเลนวีเนียร์ จะสามารถป้องกันคราบสีได้ดีกว่า และแลดูเป็นธรรมชาติมากกว่าแบบคอมโพสิตวีเนียร์
  • พอร์ซเลนวีเนียร์ มีระยะเวลรอคอยชิ้นงานที่ยาวนานกว่า เนื่องจากต้องขึ้นชิ้นงานในห้องแล็บเท่านั้น ในขณะที่คอมโพสิตวีเนียร์ สามารถทำได้ที่คลินิคเลย
  • พอร์ซเลนวีเนียร์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการทำที่สูงกว่าด้วย